Author Archives: Phanphop Phansuea

เบียร์ดำกินเนสเป็นของมังสวิรัติ

Obama toasting

 

Guinness
Irish Dry Stout – cadenaser

สมัยนี้ผู้คนดูแลตัวเองกันมากขึ้น จะกินอะไรก็ต้อง “คลีน” ไว้ก่อน และวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้เรากินคลีนอย่างที่ว่าได้นั้นก็คือการเลือกอาหารแบบมังสวิรัติมากินนั่นเอง (แถมช่วยให้คนรักสัตว์โลกสบายใจด้วย) หลายคนคงจะงงว่าแล้วที่ผ่านมาในเบียร์ดำไอริชเจ้าดังมีเนื้อสัตว์ด้วยหรือไงถึงได้ต้องประกาศก้องว่า “เป็นมังฯ แล้วนะพ่อแม่พี่น้อง”

Green written vegetarian signage
Vegetarian signage – odyssey

คำตอบก็คือ จะว่าอย่างนั้นก็ได้!

เบียร์กินเนสนั้นมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานไม่ใช่เล่นถึงตั้ง 256 ปี และที่ผ่านมาสูตรลับในการทำเบียร์ของเขามีส่วนผสมที่ทำมาจากสัตว์ด้วย ซึ่งก็คือสิ่งที่เรียกว่า ไอซินกลัส (Isinglass) นั่นเอง เจ้าสารที่ว่านี้ก็คือแผ่นโปร่งแสงที่มีลักษณะคล้ายวุ้นหรือเจลาตินซึ่งได้มาจากผนังกระเพาะปลา ก็ถุงลมปลานั่นแหละ! เรื่องนี้ไม่ได้ล้อเล่น แต่มันเป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ล้วน ๆ จะว่าไปนอกจากรูปแบบแผ่นแล้ว เขามีรูปแบบผงพร้อมใช้ด้วย คล้ายกับเวลาที่เราทำขนมเลยล่ะ

ผู้ที่คลุกคลีในวงการอาหารและเครื่องดื่มโดยเฉพาะไวน์กับเบียร์มักทราบกันดีถึงคุณสมบัติของไอซินกลัสในการทำให้น้ำเบียร์ใสโดยการทำให้สารแขวนลอยต่าง ๆ จับตัวกันและตกตะกอนอย่างรวดเร็วมานานเป็นร้อยปีแล้ว และเบียร์ไอริชเจ้านี้ก็ใช้เจ้าสิ่งนี้กับเบียร์ของพวกเขามาหลายทศวรรษแล้วด้วย ก็แน่นอนล่ะว่าเมื่อมีผู้คนตั้งหน้าตั้งตารอคอยเบียร์ดำประจำใจอย่างกินเนสอยู่ทั่วโลกวันละตั้งหลายสิบล้านคน ยิ่งเร็วยิ่งดี!

Fish
Fish – gillguide

ถึงตอนนี้บางคนคงรีบไปหาเบียร์กินเนสมาลองและดมหากลิ่นคาวปลากันยกใหญ่ เราบอกไว้เลยว่ามันไม่มีหรอกนะ เพราะเบียร์กินเนสเขากรองตะกอนทุกอย่างออกอีกรอบในตอนสุดท้าย ดังนั้นเบียร์จึงนุ่มคอเนียนกริบ

แต่เมื่อโลกเรากำลังเข้าสู่ยุคที่ผู้คนหันไปใส่ใจสุขภาพกันมาก ชาวมังสวิรัติก็มีจำนวนมากขึ้นตามไปด้วยแถมยังแตกแขนงไปมากมายทั้งแบบเคร่งและไม่เคร่ง ที่เลิกดื่มกินเนสไปก็มากมาย ที่ออกมารณรงค์ให้เปลี่ยนเทคนิคการผลิตก็ไม่ใช่น้อย โรงเบียร์จึงพยายามหาทางปรับตัวมาสักพักใหญ่

เมื่อทุกอย่างพร้อม พวกเขาจึงออกมาแจ้งกับชาวโลกเรียบร้อยว่า ตั้งแต่ปลายปี ค.ศ. 2016 เบียร์กินเนสได้ตัดสินใจเลิกใช้ไอซินกลัสแล้วนะทุกคน โดยได้เปลี่ยนไปใช้ระบบกรองสุดทันสมัยแทน

Vegan is the New Black
Vegan is the New Black – tumblr

ตอนนี้ผู้เชี่ยวชาญหลายคนก็ยังคาดเดากันไม่ถูกว่าอะไรจะมาแทนเจ้าสารตัวนี้ได้ เพราะว่าที่ลองกันมาไม่ว่าจะเป็นการใช้กรดแทนนิน หรือใช้ระบบกรองที่ผสานทั้งแบบสารเคมีและกายภาพเข้าด้วยกัน หรือจะเป็นสารสกัดจากพืชบางอย่าง เช่น สาหร่ายแดงและมอสไอริช ต่างก็ให้ผลลัพธ์ที่ยังเทียบกับไอซินกลัสไม่ได้ ต่างคนต่างจึงต้องลุ้นรอกันต่อไปว่าแบรนด์ยักษ์ใหญ่อย่างกินเนสจะเปิดเผยนวัตกรรมอะไรเด็ด ๆ ในการทำให้เบียร์ใสอย่างรวดเร็วทันใจออกมา

รู้อย่างนี้แล้ว ชาววีแกนคนไหนอยากจะดื่มเบียร์ดำขาประจำเจ้านี้ให้สบายใจก็จัดไปให้เต็มที่ ส่วนใครที่เป็นมังสวิรัติแต่ดันติดอกติดใจกินเนสยาวมาตั้งแต่ก่อนปี 2016 แล้ว ก็คงไม่เป็นไรกระมัง ไม่รู้ไม่ว่ากัน! 😀

Obama toasting
Obama thumbs up – telegraph

นักดื่มรุ่นใหญ่อยากเป็นคอเบียร์น้องใหม่ เริ่มตรงไหนดี?

Beer, wine and other booze
Beer, wine and other booze
Got Beer? – thegrapesunwrapped

จะไปทางไหนดี จะมีใครชี้ทาง? เราเองไงจะใครล่ะ

สำหรับคนที่นิยมการจิบเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดหรือสังสรรค์กับเพื่อนฝูงแล้ว ย่อมจะต้องเห็นว่ามีความแปลกใหม่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมเบียร์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การเข้ามาของเบียร์นอกและคราฟต์เบียร์จำนวนมากมาย กระทั่งในปัจจุบันก็มีแบรนด์ที่คนไทยทำเองผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ดนั้นยิ่งทำให้มุมมองต่างๆ ที่นักดื่มยุคก่อนมีต่อเครื่องดื่มที่เรียกว่าเบียร์เปลี่ยนไปบ้างไม่มากก็น้อย ผู้ใหญ่หลายคนก็อาจคิดอยากลองเปลี่ยนแก้วไวน์มาจับเบียร์ดูบ้างเป็นครั้งคราว แต่ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน เพราะที่ผ่านมาก็แทบไม่ได้แตะเบียร์เลย และโลกของคราฟต์เบียร์ก็เปิดทางเลือกให้อย่างมากมายเหลือเกิน หัวจะปวด! วันนี้เรามีคำแนะนำเบื้องต้นมาให้ดูเป็นแนวทาง มาดูกัน

 

คอแชมเปญ: เบียร์สไตล์เซซง

เบียร์เซซงนั้นมีลักษณะที่ซ่าและให้ความสดชื่นได้ดี มีความ “ดราย” และเปรี้ยวฉ่ำบางๆ คล้ายกับเครื่องดื่มจำพวกไวน์ขาวที่สดใสซาบซ่านอย่างแชมเปญ สำหรับเบียร์เซซงนั้นคุณอาจได้กลิ่นอายสดใสคล้ายเลมอน หอมเผ็ดร้อนเล็กน้อยอย่างพริกไทยดำและสมุนไพรแห้ง

 

คอวิสกี้: เบียร์สไตล์เวียนนาลาเกอร์

อันที่จริงสำหรับคนไทย (และอาจจะทั้งโลกนั่นแหละ) การที่คุณจะเป็นคอเหล้าวิสกี้และชอบดื่มเบียร์ลาเกอร์อยู่แล้วก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรนัก แต่ถ้าคุณเบื่อหน่ายกับลาเกอร์ตามท้องตลาดที่คุณมักดื่มฆ่าเวลาและอยากลองอะไรที่น่าสนใจมากขึ้นอีกหน่อย เราแนะนำให้หาเบียร์สไตล์เวียนนาลาเกอร์มาลองจิบดู กลิ่นมอลต์คั่วที่ให้ความซับซ้อนและนุ่มลึกจะทำให้คุณเชื่อมติดประสบการณ์กับวิสกี้ที่คุณโปรดปรานได้ไม่ยากนัก

 

คอรัม หรือพอร์ตไวน์: เบียร์สไตล์เบลเยียนสตรองเอล หรือไม่ก็สไตล์บาร์เลย์ไวน์

เนื้อเบียร์เหล่านี้มีความหนักแน่น ดีกรีแรงและรสจัดจ้านเต็มปากเต็มคำ ติดหวานเล็กน้อย ซึ่งเป็นลักษณะที่คอเหล้ารัมย่อมคุ้นเคยดี สายแข็งทางด้านนี้รีบหามาลองดูเลย

 

คอไวน์โซวิญง บลองก์: เบียร์สไตล์ดับเบิลไอพีเอ

ดับเบิลไอพีเอเป็นเบียร์ที่มีระดับความขมสูงมาก แต่เป็นเบียร์ที่ดื่มไม่ยากเพราะเบียร์แบบนี้ส่วนใหญ่มักจะมีความสมดุลของรสชาติค่อนข้างดี ด้วยกลิ่นฮอปส์ที่หอมแรง เนื้อมอลต์แน่นและติดหวานกลมกล่อม ทำให้คอไวน์แนวหอมจัดจ้านเช่นนี้เข้าใจทิศทางได้เป็นอย่างดีและเข้าสู่การดื่มด่ำอรรถรสได้ไว

 

คอไวน์มอสกาโต้: เบียร์สไตล์ไวส์เบียร์

คอไวน์ที่ชื่นชอบรสชาตินุ่มนวล ละมุนลิ้น ติดหวานและมีกลิ่นหอมแนวผลไม้ให้ลองสั่งวีทเบียร์ (ควรเป็นเฮเฟอไวเซ่นแบบเยอรมัน จะเริ่มด้วย Blossom Weizen ของเบียร์เชียงใหม่ก็เหมาะเจาะพอดีอยู่) มาลองจิบดู กลิ่นรสของเบียร์แนวนี้มักจะสดใสคล้ายผลกล้วยผสานกับความหอมเย็นคล้ายกานพลู อีกทั้งยังให้สัมผัสที่นุ่มปากคอด้วย

 

คอรีสลิ่ง: เบียร์สไตล์โกเซอ

สำหรับใครที่ชอบดื่มรีสลิ่งแบบเยอรมันซึ่งหอมฟุ้ง มีรสปะแล่ม ออกไปทาง “ดราย” และติดเปรี้ยวฉ่ำ คุณอาจมองหาเบียร์โกเซอที่ปัจจุบันยังมีไม่มากฉลากนักในบ้านเรามาลองดื่มดู เบียร์แนวนี้จะมีรสปะแล่มติดเค็มและอาจซ่อนความเปรี้ยวสดชื่นไว้อย่างลงตัวภายใต้กลิ่นหอมเผ็ดร้อนคล้ายเครื่องเทศ คุณอาจประหลาดใจเล็กน้อยกับเบียร์แบบนี้ (ในทำนองที่ว่าเบียร์มีแบบนี้ด้วยจริงเหรอ ซึ่งต้องบอกว่าหากนับกันจริงจังแล้ว เบียร์มีหลากหลายสไตล์จนคุณคาดไม่ถึงเลยล่ะ) แต่นั่นเป็นเรื่องที่เข้าใจได้เพราะว่าเบียร์สไตล์นี้เพิ่งกลับมาได้รับความนิยมในหมู่คนดื่มคราฟต์เบียร์เมื่อไม่กี่ปีมานี้เองหลังจากถูกอุตสาหกรรมเบียร์มองข้ามและละทิ้งไปนาน และแม้จะเป็นอย่างนั้นแล้วเบียร์โกเซอก็ยังไม่ได้แพร่หลายมากนักในหมู่คอคราฟต์เบียร์ไทยเอง

 

คอเบอร์เบิน: เบียร์สไตล์เบอร์เบิน บาเรลเอจ อิมพีเรียลสเตาท์

สายนี้ค่อนข้างตรงไปตรงมาตามชื่อเสียงเรียงนาม เนื่องจากว่านี่คือเบียร์อิมพีเรียลสเตาท์ที่พกพาความหอมอบอุ่นแบบช็อกโกและและกาแฟมาผสานเข้ากับกลิ่นหอมหวานอย่างวานิลลา คาราเมล และไม้โอ๊กจากถังเหล้าเบอร์เบินได้อย่างลงตัว ทั้งดีกรีที่หนักหน่วง รสจัด และกลิ่นท้ายที่ยาวนาน คอเบอร์เบินชั้นดีควรลอง และไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวงหากคุณชอบดื่มกาแฟด้วย

 

คอเบอร์กันดี: เบียร์สไตล์แฟลนเดอร์ส เรดเอล

หากคุณนิยมไวน์แดงปิโนต์นัวร์ชั้นเลิศจากเบอร์กันดีในฝรั่งเศส หรือไวน์ “เชอรี่”จากเฆเรสในสเปน เบียร์อาจเป็นเครื่องดื่มที่คุณรู้สึกอินยากอยู่สักหน่อย เว้นเสียแต่ว่าคุณจะได้ลองจิบแฟลนเดอร์ เรดเอล ซึ่งเป็นหนึ่งในเอลชนิดเปรี้ยวจากเบลเยียมดูเสียก่อน เบียร์ชนิดนี้มีสีแดงระเรื่อ มีกลิ่นรสของผลไม้อย่างเข้มข้นชัดเจน โดยมากจะเป็นกลิ่นหอมแนวบ๊วย แรสเบอร์รี เชอรี่ และลูกเกด ผสานกับกลิ่นขนมปังปิ้งจาง ๆ และติดเปรี้ยว (มากน้อยต่างกันไปในแต่ละสูตร) แล้วคุณอาจจะติดใจเลยล่ะ

 

เหล่านี้เป็นเพียงแค่ตัวอย่างที่เรานำมาแนะแนวทางให้ดูเท่านั้น เห็นไหมว่าเบียร์เป็นเรื่องดื่มที่รุ่มรวยและอุดมไปด้วยทางเลือกอย่างแท้จริง และปัจจุบันพวกเราก็เข้าถึงทางเลือกเหล่านี้ได้มากขึ้นทุกทีแม้ว่าจะยังมีข้อจำกัดอยู่อีกหลายส่วนก็ตาม อย่างไรก็ตามเราก็หวังเหมือนกับทุกคนว่าสิ่งต่าง ๆ ย่อมจะดียิ่งขึ้นได้อีกในอนาคต (หรืออย่างน้อยก็ไม่แย่ลง จริงไหม)

ใครที่เคยดื่มเครื่องดื่มอย่างอื่นเป็นประจำ ลองเดินเข้าร้านคราฟต์เบียร์ไปเปิดโลกใบใหม่ดูบ้างก็น่าสนุกออกนะ หรือจะลองสั่งซื้อไปร่วมจิบกับผู้หลักผู้ใหญ่สายดื่มดูก็น่าสนใจและอาจได้บทสนทนาใหม่ ๆ ที่ต่อยอดได้อีกเพียบด้วย ลองสิ!

A glass of wine and a glass of beer
In wine there is wisdom, in beer there is freedom – crushbrew

เรื่องเบียร์ “ลาเกอร์” ที่คุณอาจยังไม่รู้

Dark Lager Beer

เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่คอเบียร์ชาวไทยจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ กำลังเริ่มมีความตื่นตัวเกี่ยวกับเครื่องดื่มที่เปรียบได้กับของขวัญจากพระเจ้าชนิดนี้ แต่ในช่วงที่ผ่านมา หลังจากตลาดเบียร์ประเภทลาเกอร์ (Lager beer) ในบ้านเรามีความเคลื่อนไหวสำคัญ ๆ เกิดขึ้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อเป้าหมายทางการตลาดหรือความพยายามสร้างสรรค์สิ่งใหม่เข้าสู่วงการเบียร์ก็ตาม เราได้พบว่ายังมีนักดื่มอีกจำนวนไม่น้อยที่มีความเข้าใจยังไม่ชัดเจนหรืออาจจะคลาดเคลื่อนไปเลยเกี่ยวกับเรื่องเบียร์ลาเกอร์ โดยมากมักจะคิดกันไปว่าเบียร์ลาเกอร์มีแบบเดียวคือสีทองใส รสซ่า มีรสชาติไม่ซับซ้อน เมื่อผู้คนเหล่านี้บรรยายถึงเบียร์สักฉลาก จึงมักออกมาในข้อความทำนองว่า “หอมหวานทานง่าย” “รสนุ่มลื่นบางเบา” ในนัยว่าแตกต่างจากเบียร์เอล เบียร์ฝรั่งที่มีสีเข้ม แรงและรสจัด ผิดเต็มประตู! เบียร์ลาเกอร์มีอะไรมากกว่านั้นเยอะ และความเข้าใจที่ว่าเบียร์เอลเป็นเบียร์ที่ฝรั่งชอบดื่ม และเบียร์ลาเกอร์เป็นเบียร์ที่คนไทยชอบดื่มก็ฟังดูน่าขนลุกไม่ใช่เล่น ใครที่กำลังคิดอย่างนี้อยู่ เรามีข้อแนะนำอย่างแรกเลยคือ ลบมันออกไป ลืมมันซะ!

Different Types of Lager
Different Types of Lager – foodal
  • จริงอยู่ว่าเมื่อพิจารณาจากปริมาณการขายแล้ว เบียร์ลาเกอร์ที่วางขายเป็นส่วนมากในโลกนี้จะเป็นเบียร์ที่สีทองใสซ่าและรสบางในแบบอเมริกันหรืออินเตอร์ฯ เพลลาเกอร์ (เบียร์ลาเกอร์สีจาง) ซึ่งเป็นประเภทย่อยของเบียร์ที่หมักด้วยยีสต์สายพันธุ์ลาเกอร์เท่านั้น

 

  • คำว่า “ลาเกอร์” (Lager) มาจากภาษาเยอรมัน แปลว่า ห้องเก็บของ ห้องกักกัน ห้องเก็บรักษา คำกริยาในภาษาอังกฤษที่ว่า Lagering หมายถึงการหมักและเก็บบ่มเบียร์ในห้องเย็น (นั่นก็เพราะยีสต์สายพันธุ์ที่ใช้ทำเบียร์ลาเกอร์ทำงานได้ดีในอุณหภูมิต่ำ) โดยในอดีตจะมีการขุดหลุมให้เป็นห้องเก็บเบียร์ซึ่งจะมีการนำเอาน้ำแข็งจากแม่น้ำลำธารในละแวกใกล้เคียงมาใส่ไว้เพื่อรักษาอุณหภูมิเบียร์ให้ต่ำอยู่ตลอดในช่วงฤดูร้อน นอกจากนี้ยังมีการปลูกต้นไม้ที่แผ่กิ่งก้านสาขาได้ดีและรากไม่หยั่งลึกนักเอาไว้ข้างบนเพื่อบังแดดด้วย ทุกวันนี้มีโรงเบียร์ในยุโรปหลายแห่งที่ยังคงดูแลหลุมถ้ำเหล่านี้ไว้เป็นอย่างดี และคุณสามารถเข้าชมได้ ในบางแห่งถึงกับมีการบูรณะและต่อเติมใหม่เพื่อเปิดพื้นที่แบบนี้เป็นจุดบริการลูกค้าที่ต้องการกินดื่มสังสรรค์ที่โรงเบียร์ด้วยนะ

 

  • ในสมัยหนึ่ง พิลสเนอร์ซึ่งเป็นหนึ่งในเบียร์เพลลาเกอร์ เคยถูกมองว่าเป็นเบียร์ยุคใหม่ที่เปิดโอกาสให้นักทำเบียร์ได้ใช้ดอกฮอปส์จำนวนมาก และในปัจจุบันมีพิลสเนอร์จากโรงคราฟต์เบียร์มากมายที่อัดแน่นไปด้วยฮอปส์ที่น่าสนใจจากทั่วโลก ดังนั้นเบียร์พิลสเนอร์แต่ละยี่ห้อจึงมอบความพึงพอใจที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นหอมที่ชวนให้นึกถึงดอกไม้ใบหญ้า หรือน้ำผึ้งและผลไม้ต่าง ๆ นานา

 

  • เบียร์ “พอร์เตอร์บอลติก” เป็นเบียร์ที่มีคำว่าพอร์เตอร์ในชื่อ ผู้คนที่สนใจเรื่องเบียร์มากขึ้นหน่อยจึงมักคิดว่าเป็นเบียร์เอล แต่อันที่จริงเบียร์ชนิดนี้เป็นลาเกอร์ โดยทั่วไปแล้วเบียร์พอร์เตอร์บอลติกถือว่าเป็นของที่ไม่ได้ดื่มง่ายสำหรับคอเบียร์ฝึกหัด เนื่องจากมีรสแน่นข้นจัดจ้านมาก คล้ายนมช็อคโกแลตผสมเครื่องเทศ ผลไม้สีเข้ม กากน้ำตาล ฉาบด้วยความเผ็ดร้อนจากแอลกอฮอล์

 

  • เบียร์ลาเกอร์แบบ “ไอส์บ็อค” (Eisbock) มีดีกรีสูงพอที่จะทำให้คุณเมาได้ภายในการดื่มเพียง 1-2 แก้วเท่านั้น กรรมวิธีคือนักต้มเบียร์จะทำให้เบียร์ผ่านอุณหภูมิจุดเยือกแข็งเพื่อแยกน้ำออกจากเบียร์ สิ่งที่คงเหลืออยู่จึงเป็นเบียร์ “ตัวกลั่น” ทั้งนั้น รสจัดแน่นแต่ดื่มได้ไม่ยากเกินไป มอลต์หนักแน่นและนุ่ม รับประกันความแรง

 

  • ยังมีเบียร์ประเภทลาเกอร์อีกหลายชนิดย่อยๆ ที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ และมีความจัดจ้าน ไม่ว่าจะเป็น Rauchbier (เบียร์รมควัน / ไม่ได้รมด้วยควันตรงตัวตามชื่อเรียก แต่มีการใช้มอลต์ผ่านไฟในการปรุงเบียร์), Amber Kellerbier Munich Dunkel, Schwarzbier และอื่น ๆ นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีลาเกอร์สไตล์ใหม่เกิดขึ้นในโลกของคราฟต์เบียร์เต็มไปหมดตามความบรรเจิดของนักทำเบียร์อีก เช่น อินเดียเพลลาเกอร์ เป็นต้น ส่วนลาเกอร์จำพวกที่เกิดขึ้นมาในกรอบคิดทางการตลาดเป็นหลักนั้นเราขอละไว้ก่อน

 

  • ยีสต์สายพันธุ์ที่ใช้ทำเบียร์ลาเกอร์เป็นยีสต์ที่ไม่ค่อยแสดงตัวตนเกินหน้าเกินตาวัตถุดิบอย่างอื่นในสูตรทำเบียร์ จึงทำให้ไม่บดบังคุณลักษณะของธัญพืชและดอกฮอปส์ที่ผู้ผลิตเลือกใช้ ยีสต์กลุ่มนี้แม้จะมีผลต่อเล็กน้อยต่อรสของมอลต์แต่เบียร์ก็ยังคงมีลักษณะค่อนข้างกระจ่างชัดเจนอยู่ดี (เมื่อเทียบกับผลลัพธ์จากยีสต์ที่ใช้ทำเอล) ดังนั้นโดยทั่วไปแล้ว เบียร์ลาเกอร์จึงถูกมองว่ามีลักษณะทั่วไปที่สดใสซาบซ่านและสะอาดปากคอ

8 เรื่องเบียร์ที่มักถูกเข้าใจผิด

Getting Confused

แม้ว่าเบียร์จะเป็นหนึ่งในบรรดาเครื่องดื่มสุดฮิตของพวกเรามวลหมู่มนุษยชาติมานับพันปี และบางตำราก็บอกว่ามันสลักสำคัญต่อสังคมมากถึงขนาดส่งผลให้ชาวโลกเริ่มคิดทำการกสิกรรมเพาะปลูกขึ้นเป็นครั้งแรกกันเลยทีเดียว เบียร์กลับยังคงถูกเข้าใจอย่างผิด ๆ อยู่ร่ำไป

วันนี้เราก็เลยลองรวบรวมความคิดที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเบียร์ 8 อย่าง มาอภิปรายกันดูสักหน่อย

 

  1. เบียร์ดำต้องแรง
Dark Beer - homebrewerassociation
Dark Beer – homebrewerassociation

แม้ว่ามีหลายสิ่งในโลกที่ชวนให้คิดไปว่าสีเข้มนั้นสะท้อนถึงบางอย่างที่ดุดันและหนักหน่วง แต่นั่นไม่เกี่ยวกับเบียร์สีเข้มหรือสีดำ เพราะสีของเบียร์นั้นแปรผันตามระยะเวลาที่มอลต์ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักถูกคั่ว คือยิ่งคั่วนานมากก็ให้สีเข้มมากแต่ว่าระดับแอลกอฮอล์ไม่จำเป็นต้องแรงตามไปด้วย เพราะเรื่องนั้นขึ้นอยู่กับว่าจะมีน้ำตาลจากมอลต์ที่ถูกยีสต์จัดการแปรสภาพไปมากน้อยเพียงใดต่างหาก สำหรับความขมก็เช่นกัน เบียร์ดำอาจจะมีรสขมคั่วแบบกาแฟได้บ้างแต่นั่นก็เป็นคนละอย่างกันกับความขมแบบที่มาจากดอกฮอปส์อย่างเช่นในเบียร์สไตล์ไอพีเอ สรุปว่าเบียร์ดำไม่ว่าจะดำสนิทแค่ไหนไม่จำเป็นต้องแน่น ขม และแรง ว่ากันเป็นรายตัวไปจะดีกว่า

 

  1. เบียร์อร่อยต้องเสิร์ฟในอุณหภูมิเย็นจัด
Ice Cold Beer
Ice Cold Beer – homewetbar

 

ในเมืองร้อนชื้นอย่างบ้านเรานั้น เบียร์ลาเกอร์เย็นเฉียบก็เป็นสิ่งพึงประสงค์โดยทั่วไปสำหรับผู้คนที่ต้องการดับกระหาย อย่างที่เราเห็นได้จากการที่เบียร์ใส่น้ำแข็งและเบียร์วุ้นแก้วแช่ได้รับความนิยมแพร่หลายอย่างมากชนิดว่าเป็นภาพจำของคำว่าเบียร์ อีกทั้งยังมีบาร์หลายแห่งที่ประกาศก้องว่ามีเบียร์เย็นที่สุดในโลกให้บริการ เย็นแล้วเย็นอีกแบบที่เรียกว่ายะเยือกถึงอุณหภูมิติดลบกันไปเลย แนวปฏิบัติแบบนี้มีมานานจนกระทั่งหลายคนคิดไปว่ายิ่งเย็นยิ่งดี

แต่อันที่จริงการจะดื่มเบียร์ให้ได้รสชาติพอดิบพอดีที่สุด หนึ่งในปัจจัยสำคัญก็คืออุณหภูมิที่เหมาะสมนั่นเอง และเบียร์แต่ละชนิดก็มีคุณลักษณะที่แตกต่างกันไปเสียด้วย ยกตัวอย่างคร่าว ๆ เช่น เบียร์ที่เนื้อเบาบางถึงปานกลางจำพวกพิลสเนอร์หรือเพลเอลนั้น ก็ควรถูกดื่มด่ำที่อุณหภูมิ 4-6 องศาเซลเซียส ขณะที่เบียร์แบบที่น้ำเบียร์มีความแน่นหนากว่าก็เหมาะสมที่จะดื่มที่อุณหภูมิสูงขึ้น เป็นต้นว่า 10-12 องศาเซลเซียส เป็นต้น เพราะฉะนั้นคราวหน้าลองดื่มในอุณหภูมิที่เหมาะกับสไตล์เบียร์สิ แล้วคุณจะเข้าใจกลิ่นรสของเบียร์ในมือได้ดีกว่าเดิมเยอะ

 

  1. เบียร์กระป๋องคือเบียร์ไม่ดีและราคาถูก
Glass Bottle vs Can - doctorale
Glass Bottle vs Can – doctorale

 

เรื่องราวมายาคติเกี่ยวกับความไร้รสนิยมและราคาถูกของกระป๋องนั้นอาจจะมีความซับซ้อนและเกิดจากผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นหลายอย่างที่มีมานมนานโดยเฉพาะพวกอาหารกระป๋องทั้งหลาย แต่เราขอบอกเลยว่าที่จริงแล้วกระป๋องอลูมิเนียมนั้นเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยเก็บรักษาคุณภาพน้ำเบียร์ได้อย่างดีที่สุด เนื่องจากความสามารถในการปกป้องเบียร์จากแสงและออกซิเจนที่ทั้งขวดแก้วและเครื่องเสิร์ฟเบียร์สดต่างก็เทียบไม่ติดเลย ที่สำคัญคือเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในปัจจุบันก็ทำให้ลวดลายบนกระป๋องนั้นสวยสดงดงามจนน่าสะสมไม่ใช่เล่น แถมยังมีน้ำหนักเบาและไม่แตกง่ายอีกด้วยนะ ช่วงหลังมานี้เราจึงได้เห็นเบียร์เทพ ๆ มาในรูปแบบกระป๋องกันเยอะแยะ และแม้กระทั่งวงการคราฟต์เบียร์ไทยเองก็เริ่มหันมาผลิตสินค้าในรูปแบบกระป๋องกันมากขึ้นด้วย

 

  1. คราฟต์เบียร์ควรจะต้องถูกเก็บบ่มเอาไว้ให้นานก่อนเปิดดื่ม
Aging Beer - frankenmuthbrewery
Barrel-age Them All? – frankenmuthbrewery

 

เรื่องนี้ดูเหมือนว่าจะถูกต้องเพียงบางส่วน เพราะเบียร์นั้นไม่เหมือนกับเครื่องดื่มหลายชนิดที่ผู้คนซื้อมาเก็บเอาไว้นานนับปีก่อนดื่มและการเป็นคราฟต์เบียร์ก็ไม่ใช่ข้อบ่งชี้ว่าคุณควรจะต้องเก็บงำมันไว้ให้เนิ่นนาน จริงอยู่ว่ามีเบียร์บางชนิดที่อาจให้รสที่นุ่มนวลขึ้นหรือเปลี่ยนไปจากเดิมเมื่อเราเก็บไว้อย่างถูกวิธีในระยะเวลาที่เหมาะสม เช่น เบียร์ที่เด่นด้านมอลต์และมีแอลกฮอล์สูงอย่างบาร์เลย์ไวน์ แต่โดยทั่วไปแล้วคุณควรจะรีบดื่มเบียร์โดยเร็วเพื่อลิ้มรสความสดใหม่อย่างที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะเบียร์ที่เด่นด้านกลิ่นฮอปส์ต่าง ๆ เช่น ไอพีเอ คราวนี้ใครคิดจะซื้อเบียร์ไปบ่มไว้โดยหวังว่าจะได้ดื่มเบียร์แสนนุ่มลึกในอีกหลายเดือนหรือหลายปีข้างหน้าก็ให้ลองหาข้อมูลดูก่อนนะว่าเบียร์นั้น ๆ ควรถูกเก็บไว้หรือไม่อย่างไร ทำไปแบบไม่รู้สี่รู้แปดจนกลายเป็นเบียร์เก่าเก็บก็เสียดายแย่

 

  1. ลาเกอร์และพิลสเนอร์คือเบียร์แบบเดียวกัน
A Beer Flight
A Beer Flight – berghoffbeer

 

พูดแบบนี้ก็คงถูกต้องเพียงเสี้ยวเดียว เนื่องจากพิลสเนอร์นั้นเป็นเพียงหนึ่งในเบียร์ลาเกอร์หลาย ๆ แบบ เบียร์พิลสเนอร์นั้นชัดเจนว่ามีสีทองใสและให้รสชาติที่สดชื่นซาบซ่าน ส่วนลาเกอร์นั้นอาจจะมีสีดำหรือมีเนื้อหนักแน่นด้วยมอลต์มาเลยก็เป็นได้ เอาเป็นว่าลาเกอร์คือประเภทของเบียร์ (อีกประเภทเรียกว่าเอล) และพิลสเนอร์เป็นประเภทย่อยอย่างหนึ่งของเบียร์ลาเกอร์นั่นเอง

 

  1. เบียร์แช่เย็นที่ถูกทิ้งไว้จนอุ่น จะเกิดกลิ่นเหม็นฉุนแบบตัวสกังค์หรือแมลงสาบ
Skunked Beer - reactions
Skunked Beer – reactions

 

การที่อุณหภูมิของเบียร์เปลี่ยนไปมาอย่างมากบ่อย ๆ นั้นไม่ใช่เรื่องที่ดีก็จริง เนื่องจากอาจทำให้เบียร์มีลักษณะชืดและสูญเสียความสดใหม่ แต่กลิ่นฉุนแบบสกังค์หรือแมลงสาบนั้นเป็นปฏิกิริยาทางเคมีที่จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเบียร์โดนแสงหรือรังสียูวีต่างหากล่ะ ดังนั้นคุณควรจะเก็บเบียร์ไว้ในที่มิดชิดไม่ถูกแสงมากนักจะดีกว่ามาก โดยเฉพาะบรรดาเบียร์ที่ใส่ดอกฮอปส์เยอะ ๆ ทั้งหลาย จำไว้เลยว่าฮอปส์ในเบียร์กับแสงไปด้วยกันไม่ได้ และถึงแม้ว่าบรรจุภัณฑ์ของคุณจะกรองรังสียูวีได้ดีเพียงใด เลี่ยงได้ก็เลี่ยงไว้ก่อน

 

  1. เบียร์ทุกแบบที่จริงแล้วก็เหมือนกันหมด
A Waitress Carrying Heavy Beer Steins - telegraph
A Waitress Carrying Heavy Beer Steins – telegraph

 

หลายคนที่มีโอกาสลองดื่มคราฟต์เบียร์บ่อย ๆ คงไม่คิดเช่นนี้ แต่ยังมีผู้คนอีกมากที่ยังเข้าใจเรื่องนี้ไม่ถูกต้อง เบียร์นั้นเป็นเครื่องดื่มที่มีหลายรูปแบบหลากสีสันมากและแตกต่างกันตั้งแต่กระบวนการผลิตและประเภทของวัตถุดิบ ดังนั้นจึงมีเบียร์ทั้งแบบรสเปรี้ยว หวาน ขม คล้ายผลไม้ ไปจนถึงเค็ม ระดับความซ่ามากน้อย น้ำเบียร์ใส โปร่งแสง ไปจนถึงขุ่นทึบ และมีตั้งแต่แบบที่แทบจะไม่มีแอลกอฮอล์อยู่เลยไปจนถึงแบบที่มีดีกรีระดับสูงลิ่วเทียบเคียงเหล้าได้เลยทีเดียว (สูงกว่าก็มีนะ)

 

  1. เบียร์เป็นของไม่ดี
A Drunk Man - mic
A Drunk Man – mic

 

อันที่จริงเบียร์ก็เหมือนกับของหลายอย่างบนโลกใบนี้ที่อาจจะเป็นของที่ดีและไม่ดีได้ด้วยเช่นกัน นั่นขึ้นอยู่กับว่าคุณมีวิธีจัดการกับมันอย่างไร เหมาะสมกับเงื่อนไขปัจจัยและกาลเทศะหรือไม่ อย่างไรก็ตาม หากคุณยึดมั่นในทางสายกลางแล้วล่ะก็ เราขอยินดีด้วย! การทดลองทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันบ่งชี้ว่าการดื่มเบียร์แต่พอเหมาะนั้นมีประโยชน์หลากหลายอย่างเมื่อเทียบกับการไม่ดื่มเลยหรือดื่มหนักมากเกินไปสำหรับคนที่มีสุขภาพปกติแข็งแรงดี และหากคุณไม่มั่นใจว่ากลาง ๆ นั้นคือแค่ไหนอย่างไร ก็ตีว่าประมาณ 1-3 แก้วต่อวันก็แล้วกัน ทั้งนี้ก็อย่าลืมประเมินขนาดร่างกายของตัวเองด้วยนะ

ตราแห่งอิสรภาพของชาวคราฟต์เบียร์

Beer packages with Independent Craft sign

อุตสาหกรรมคราฟต์เบียร์ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วและรุนแรงมากไปทั่วทุกมุมโลกตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ และได้เกิดการปะทะกันมากมายหลายรูปแบบระหว่างเบียร์รายย่อยและเบียร์เจ้าตลาดตามความเข้มข้นของพัฒนาการดังกล่าว

ในสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางความเคลื่อนไหวของคราฟต์เบียร์นั้น ปรากฏการณ์ “เบียร์กินเบียร์” ได้เกิดขึ้นอย่างชัดเจน ข่าวคราวการไล่เข้าฮุบกิจการหรือการคืบคลานเข้าไปควบรวมหรือขอมีส่วนร่วมในธุรกิจผลิตคราฟต์เบียร์จากฝั่งบริษัทเบียร์ขนาดยักษ์นั้นปรากฏอยู่บนหน้าข่าวแทบไม่เว้นแต่ละวัน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมก่อให้เกิดการถกเถียงกันมากชนิดเสียงแตกและเกิดเป็นเรื่องดราม่าขึ้นอยู่เนือง ๆ

แต่โดยมาก หากลองฟังเสียงจากบรรดาผู้ผลิตที่ยังคงเกาะกลุ่มกันอยู่ในสมาคมผู้ผลิตเบียร์หรือ Brewers Association (BA) ซึ่งเป็นสมาคมธุรกิจประเภทไม่หวังผลกำไรที่เป็นแกนกลางในการผลักดันการคงอยู่และความเจริญก้าวหน้าของวงการคราฟต์เบียร์อเมริกันแล้ว เสียงส่วนใหญ่ก็ค่อนไปในทางไม่เห็นด้วยและออกจะดูแคลนการขายกิจการของผู้ผลิตอิสระรายย่อยรวมทั้งพฤติกรรมการกว้านซื้ออย่างบ้าคลั่งของบรรษัทระดับมหึมาเหล่านั้นอยู่มากเอาการ

ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา ทางสมาคม BA จึงได้เริ่มเดินหน้าโครงการซึ่งมีแนวคิดที่ต้องการสื่อสารกับผู้บริโภคให้ชัดเจนว่าใครบ้างที่ยังคงสถานะเป็นผู้ผลิตอิสระอยู่ท่ามกลางความโกลาหลทางธุรกิจที่ว่านี้

ความอิสระที่ว่านี้สะท้อนถึงการที่ผู้ผลิตจากโรงทำเบียร์เหล่านี้ไม่ต้องตกอยู่ภายใต้อาณัติการบริหารจัดการของบรรษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขนาดยักษ์ทั้งหลาย และสามารถสร้างสรรค์เบียร์ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ ใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพและแปลกใหม่ได้ โดยไม่จำเป็นต้องยืนอยู่บนหลักคิดเรื่องผลกำไรสูงสุดแต่เพียงอย่างเดียว

beer can/bottle
A Beer Can+Bottle – thenewyorktimes

Independent Craft

ตราสัญลักษณ์ใหม่นี้ใช้รูปเงาขวดเบียร์กลับหัว มีคำว่า INDEPENDENT หรือ “เป็นอิสระ” อยู่ตรงกลาง ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจที่พบว่าความอินดี้ หรือการผลิตแบบอิสระจากค่ายยักษ์ใหญ่นั่นเองที่เป็นหัวใจสำคัญของผู้ที่เลือกดื่มคราฟต์เบียร์ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 81 ในปีที่ทำการสำรวจ)

Independent Craft
Independent Craft – brewersassociation

Bob Pease ประธานและ CEO ของ BA กล่าวเสริมด้วยว่า “เหล่าผู้ผลิตเบียร์อิสระจะ “พลิก” (ดังนั้นจึงใช้รูปขวดเบียร์กลับหัว – ผู้เขียน) อุตสาหกรรมเบียร์ด้วยการให้ความสำคัญกับเรื่องของชุมชนมากกว่าบรรษัท และสนใจเรื่องน้ำเบียร์มากกว่าผลกำไร พวกเขาจะพัฒนาเบียร์และประเทศชาติให้ดียิ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ โดยก้าวไกลไปมากกว่าแค่การทำเบียร์ ธุรกิจขนาดย่อมของพวกเขานั้นตอบแทนสู่สังคมรอบข้างและค้ำชูการคงอยู่ของเมืองน้อยใหญ่นับพันแห่งทั่วสหรัฐอเมริกา”

ปัจจุบันโรงผลิตเบียร์ในสหรัฐอเมริกามีอยู่มากกว่า 9,000 แห่ง และร้อยละ 99 ของจำนวนทั้งหมดก็เป็นผู้ผลิตคราฟต์เบียร์อิสระรายย่อยทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามส่วนแบ่งการตลาดของบรรดาผู้ผลิตเหล่านี้กลับคิดเป็นเพียงร้อยละ 10 กว่า ๆ ของปริมาณการซื้อขายเบียร์ทั้งหมดเท่านั้นเอง  เมื่อสภาวะนี้มาปะทะเข้ากับสถานการณ์ที่บรรษัทเบียร์ขนาดยักษ์กำลังไล่เขมือบผู้ผลิตรายย่อยซึ่งยิ่งทำให้สัดส่วนหดหายลงไปทุกทีเช่นนี้ ตราสัญลักษณ์ใหม่ที่ออกมาอาจกลายเป็นเหมือนกับเครื่องยึดเหนี่ยวซึ่งจะส่งผลให้ผู้ผลิตรายย่อยและวงการคราฟต์เบียร์ต่อสู้กับกระแสคลื่นทุนต่อไปได้อย่างแข็งแกร่งก็เป็นได้

Beer packages with Independent Craft sign
Displaying the Independent Spirit – brewersassociation

จากวันนี้ไปเราชาวไทยคงได้เห็นเบียร์จากผู้ผลิตอิสระทยอยแปะตราใหม่นี้ลงบนเบียร์ของพวกเขาเช่นกัน และตรานี้ยังไม่ได้ถูกจำกัดให้ใช้อยู่แค่ในกลุ่มสมาคม BA เท่านั้นด้วยนะ ก็คอยติดตามกันให้ดีแล้วกันคอเบียร์ทั้งหลาย

7 สิ่งที่ควรทำ เมื่อเข้าร้านคราฟต์เบียร์

Hipsters holding different beers

ภายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา บาร์เบียร์หลายแห่งที่เคยเรียบง่ายด้วยเมนูเบียร์ลาเกอร์กับของแกล้มไม่กี่อย่างได้กลับกลายเป็นสถานที่ “อินเทรนด์” ซึ่งเต็มไปด้วยรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ และรายการเครื่องดื่มที่จัดเรียงอย่างพิถีพิถันด้วยคราฟต์เบียร์หลายชนิด รวมทั้งธรรมเนียมปฏิบัติใหม่ที่นักดื่มทำกัน

แล้วมีอะไรบ้างที่คอเบียร์ร่วมสมัยทั่วโลกเขาทำเมื่อสังสรรค์ในร้านคราฟต์เบียร์แบบนี้ อะไรที่เป็นมารยาทอันพึงประสงค์ในการดื่มคราฟต์เบียร์ เรามาดูกัน

Beer Flight
A set of 5 different beers – suitelife
  1. ชิมเบียร์ในปริมาณที่เหมาะสม

สมัยนี้เมื่อเข้าไปในร้านเบียร์ที่มีรายการให้เลือกมากมายจนละลานตา หลายคนคงเคยได้รับข้อเสนอให้ลองชิมเบียร์แต่ละชนิดดูก่อนสักหน่อย ก่อนที่จะสั่งมาทั้งแก้ว คุณไม่ควรจะฉวยโอกาสจากธรรมเนียมนี้ด้วยการชิมแล้วชิมอีกจนมากเกินไป (บางคนก็อาศัยว่าร้านมีตั้ง 20 แท็ป เนียนชิมวนไปจนเมาแอ๋) แม้ว่าบรรดาพนักงานอาจจะเต็มใจบริการเช่นนั้นก็ตาม

  1. เคารพรสนิยมที่แตกต่าง

ตระหนักไว้เสมอว่าเบียร์ที่คุณไม่ชอบนั้นเป็นคนละเรื่องกับเบียร์ที่ไม่ดี รสนิยมของคนเรานั้นย่อมแตกต่างกันไป ที่สำคัญคือสังคมคราฟต์เบียร์คือสังคมแห่งทางเลือกไงล่ะ

Beerlovers at a bar
Beerlovers at a bar – foodiggity
  1. สงสัยให้ถาม

สอบถามพนักงานหากคุณมีข้อสงสัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณอยู่ในร้านที่ได้มาตรฐาน มีพนักงานที่เข้าใจเรื่องเบียร์อย่างดี และหากคุณโชคดีมีโอกาสได้พบกับบริวเวอร์ของเบียร์ที่คุณมีคำถามในใจ ก็เชิญสอบถามให้ไว เพราะบริวเวอร์ก็ชอบพูดคุยถึงเรื่องเบียร์อยู่แล้วทั้งนั้นแหละ

  1. ตระหนักไว้ว่าเบียร์แรงอาจเสิร์ฟในปริมาณที่น้อยกว่า (หากราคาเท่ากัน)

อย่าเพิ่งด่วนตำหนิหรือเอาไปแขวนประณามลับหลังก่อนสอบถามกันอย่างตรงไปตรงมา หากว่าคุณได้รับเบียร์ที่มีแอลกอฮอล์ดีกรีสูงในแก้วขนาดเล็กกว่าปกติ เหตุผลนั้นง่ายมาก ก็เพราะเมื่อวัดกันต่อหน่วยแล้วเบียร์แบบนี้มีราคาต้นทุนที่สูงกว่าเห็น ๆ และคุณคงไม่อยากเมาหัวทิ่มหัวตำกลับบ้านจริงไหม

Beerlovers
Nice bar vibes – masterlife
  1. อย่ามโนไปเองว่าร้านใช้เล่ห์เหลี่ยมเพื่อลดต้นทุนในการเสิร์ฟเบียร์

คราฟต์เบียร์นั้นถูกออกแบบและทำขึ้นมาจากหลายแนวคิด และไม่ใช่ว่าคราฟต์เบียร์ทุกชนิดทุกฉลากจะต้องมีเนื้อเบียร์เข้มข้นเหนียวหนึบเต็มปากเต็มคำเสมอไป พึงอย่าด่วนตัดสินและกล่าวหาว่าร้านเบียร์เสิร์ฟ “เบียร์จาง ๆ” เพราะการแขวะว่าร้านเบียร์นั้นเจือจางน้ำเบียร์ก่อนเสิร์ฟโดยไม่มีหลักฐานเป็นอะไรที่แย่นะ อันที่จริงการกล่าวหาว่าผู้อื่นเจตนาหลอกลวงโดยไม่มีหลักฐานที่เป็นรูปธรรมก็ไม่ดีทั้งนั้นล่ะ

  1. อย่าถามหา “แก้วแช่แข็ง”

แก้วแช่เย็นนั้นเป็นเรื่องที่ดีในวันที่อากาศร้อนอบอ้าวโดยเฉพาะในความร้อนสุดโหดของประเทศไทย เนื่องจากเราคงไม่อยากให้เบียร์ของเราอุ่นเร็วจนเสียอรรถรสไวเกินไป และเราเองก็ประทับใจทุกครั้งที่ได้เจอร้านที่เสิร์ฟเบียร์เย็นแถมยังรักษาระดับความเย็นได้นาน แต่การแช่เย็นนั้นก็ต่างจากการแช่แข็งอยู่นะ การเสิร์ฟเบียร์ในแก้วแช่แข็งจะทำให้เบียร์เกิดโฟมฟองเต็มไปหมดทั้งแก้ว และหากคุณดื่มเบียร์ในลักษณะแบบนั้น คุณก็จะไม่ได้รู้จักตัวตนของสิ่งที่เลือกดื่มเลย เว้นเสียแต่ว่าคุณอยากจะลิ้มความสดชื่นจากเบียร์ลาเกอร์วุ้นเป็นพิเศษ ซึ่งนั่นก็คงไม่ค่อยเกิดขึ้นในร้านคราฟต์เบียร์จริงไหม

People enjoy drinking beer
People enjoy drinking beer – beer52
  1. อย่ากระดกยกจนเมาปลิ้น

แทนที่จะยกซดกันจนลิ้นชาหรือสติหลุดไปไกลเกินควบคุม คุณควรจะละเลียดกลิ่นรสของเบียร์ไปทีละนิดพร้อมกับพูดคุยอย่างออกรสกับเพื่อนฝูงหรือไม่ก็เสพบรรยากาศดี ๆ ของสถานที่เพื่อให้ได้รับประสบการณ์ที่คุ้มค่าและน่าประทับใจ ไหน ๆ ก็ได้มาอยู่ในบาร์ที่ยินดีให้เราได้ดื่มด่ำรสชาติหลากหลายจากเครื่องดื่มคุณภาพชั้นยอดแล้วทั้งที

เห็นไหมว่ามารยาทปฏิบัติพวกนี้ไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไรเลย หลายเรื่องก็เป็นเรื่องสามัญสำนึกทั่วไปนั่นล่ะ แต่หากนึกอะไรไม่ออก คุณก็แค่ทำสิ่งที่เป็นการให้เกียรติสถานที่และเพื่อนนักดื่มที่กำลังสังสรรค์กันอยู่อย่างสนุกสนาน

ง่าย ๆ เท่านั้นเอง!

เบียร์จากยีสต์ 5,000 ปี!

ภาพเหล่าทีมวิจัยจาก Israel Antiquities Authority

 

เพิ่งมีข่าวมาสด ๆ ร้อน ๆ เมื่อบาทหลวงชาวเบลเยี่ยมได้แกะสูตรเบียร์ที่มีอายุกว่า 200 ปี สำเร็จเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว มาวันนี้ทางอิสราเอลไม่น้อยหน้า โดยทีมนักวิจัยอิสราเอล ซึ่งประกอบไปด้วยนักจุลชีววิทยา นักโบราณคดีและผู้เชี่ยวชาญด้านการหมักไวน์ ได้ทำการหมักเบียร์โดยใช้ยีสต์ที่มีอายุเก่าแก่กว่า 5,000 ปี!!!

ทางทีมงานได้ทำการเพาะยีสต์ที่เก็บได้จากซากไหเก็บเบียร์โบราณที่ค้นพบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศอิสราเอล โดยที่หลังจากทำการวัดอายุแล้วพบว่ายีสต์นี้มีอายุอยู่ในช่วง 3,000 ปี ก่อนคริสตกาล หรือเมื่อกว่า 5,000 ปี มาแล้ว ซึ่งก็คือยุคสมัยฟาโรห์นั่นเอง โดยยีสต์ได้อยู่ในภาวะจำศีลภายในรูพรุนเล็ก ๆ ของภาชนะดินเผาที่ใช้ใส่เบียร์ และเพื่อไม่ให้มีข้อผิดพลาดอันอาจเกิดจากความบังเอิญ ทีมวิจัยนี้จึงได้เก็บตัวอย่างจากภาชนะอื่น ๆ อีก 27 ชิ้นที่ไม่ได้ใช้สำหรับใส่แอลกอฮอล์ และพบว่าในบรรดาภาชนะเหล่านั้นไม่ได้มียีสต์เฉกเช่นในไหเก็บเบียร์แต่อย่างใด

 

หนึ่งในภาชนะโบราณที่ใช้เก็บเบียร์

 

อย่างไรก็ตาม ทางทีมวิจัยกล่าวว่ารสชาติของเบียร์ที่ได้มานั้นอาจจะไม่เหมือนกับเบียร์ที่ฟาโรห์สมัยนั้นได้ดื่ม เพราะว่านอกจากยีสต์โบราณแล้ว วัตถุดิบอื่นที่ใช้ เช่น ข้าวบาร์เลย์และดอกฮอปส์นั้นเป็นของที่ผ่านกระบวนการสมัยใหม่ทั้งสิ้น ทั้งนี้ นอกจากเบียร์สูตรโบราณอันน่าตื่นเต้นแล้ว อีกเรื่องที่น่าสนใจก็คือความสามารถของนักวิทยาศาสตร์ที่สามารถปลุกชีพยีสต์ที่หลับไหลมานานให้มีชีวิตกลับขึ้นมาได้ เห็นแบบนี้แล้วทางแอดมินคิดว่าอยากจะไปขุดหาไหสาโทของเวียงกุมกามอาณาจักรล้านนา เผื่อว่าจะได้มีโอกาสทำเบียร์จากยีสต์โบราณอายุ 700 ปี กับเขาบ้าง

 

อ้างอิง
https://www.sciencealert.com/yeast-from-a-5-000-year-old-pot-was-woken-up-and-used-to-brew-an-ancient-beer
 

How did Chiang Mai Beer begin?

Early Brewday in Laos

It all began in the autumn of 2010 at the Great American Beer Festival, the largest, oldest craft beer festival and beer competition in the United States.

Being born and raised totally in Thailand, we experienced our true eye-opening moment about beer for the first time there. Imagine joining an event that served over 2,200 beers from 455 breweries when you are from a country with no more than 5 beers, and you will see. It was so impactful to us that we decided to go deeper and further into the beer universe.

Almost immediately after we got back to our dorm, we put up a mini DIY homebrew kit and gave it a shot. The resulting beer was barely drinkable but far from enjoyable. By the way, the beer was not the only thing we brewed up that day but also the idea – that anyone could definitely make their own beers. We knew at that very point that when we return to Thailand, we would brew our hometown beer and name it Chiang Mai Beer.

Our first homebrew kit from Amazon.

We returned to Thailand in 2012 and quickly continued our journey in homebrewing. Our brewing recipes improved gradually and one day we sensed that things were just right. Chiang Mai Beer was born – 100% handmade. Our early version of it was happily shared among friends and colleagues.

Serving our draught homebrewed beer at a wedding in 2014.

It was good, but being good was not good enough. We still wanted to make better ones. After we went through plenty of trials, errors, and small successes during all those years of experimentation, we were determined to legally commercialize ours.

We traveled across Southeast Asia and talked to many people in the trade in search of a brewery that would match our mission and vision. Finally, we signed a contract with one in Laos and a few months later, the first official batch of Chiang Mai Beer arrived in Thailand.

Chiang Mai Beer Team Crossing the Border
Eagerly crossing the border to brew the beer at our partnering brewery, Beer Savan Brewery, Lao PDR.
Our first time using a 5,000 L brewhouse.
With old-school 10,000 L fermentors, the only way to dry-hop is to climb to the top!!!
Our beers were legally sold in Thailand for the first time on 25 December 2015.

After a brief debut in our hometown, Chiang Mai province, we decided to expand our reach nationwide the following year by partnering with a trading company based in Bangkok.

Beer Story: Ping River Pilsner

Ping River Pilsner | 5% ABV

Key Tasting Notes: Nut, Honey, Whole Grain

Ping River Pilsner was released in 2018. The concept of this beer is straightforward, an easy-drinking beer. To us, it is fun to create beers that are unique and somewhat stand out from the mainstream beers like a lager or a pilsner. Nonetheless, we could not disagree that the simple crisp, and clean pale lager is the world’s most popular kind of beer. Although it looks like a basic brew, bringing the best out of it is actually one of the most challenging missions for us and many brewers worldwide.

Ping River Pilsner is a Czech-style pilsner. We stick with tradition and as a result, only high-quality malted barley and the “Noble hops” are selected as the ingredients for the brewing. This pilsner is smooth on the palate with a medium body. It has a honeyish sweetness that does not linger for too long and balances out mild bitterness really well. A “noble” thirst quencher it is.

It was awarded a silver medal at World Beer Awards 2019.

Ping River Pilsner Silver WBA2019
Ping River Pilsner was awarded SILVER from WBA2019

Its smoothness and beautiful touch of nostalgia make us think of the good old days when we used to chill out with our families and friends on the bank of Ping River.

The image on the label depicts a scorpion-tailed boat cruising along Ping River. Even though we rarely see this kind of boat nowadays, there used to be so many of them sailing back and forth across Ping River back in the past. The scorpion-tailed boat is native to the northern region of Thailand. They were used to transport goods and sometimes people on long journeys. In the background, we can see “Khua Lek” or the Iron Bridge, one of today’s most famous landmarks of Chiang Mai City. However, let it be noted that the current iron bridge is built according to the design and using the steel parts of the original one situated nearby (Nawarat Bridge, which was rebuilt a long time ago to suit the present-day lifestyle). Why so? Probably because we want to remember the past as it helps make us who we are.

The scorpion-tailed boat is a traditional Lanna-style river vessel.
Khua Lek Iron Bridge
The first iron bridge of Chiang Mai was opened to public use in 1923. 

Beer Story: Blossom Weizen

Blossom Weizen | 5% ABV

Key Tasting Notes: Ripe Banana, Clove, Whole Wheat Bread

Our second beer on the list is Blossom Weizen. It is made to counter-balance Red Truck Red Ale. While the red ale is bitter and bold with hops and caramel malt, Blossom Weizen offers a mellow and refreshing touch of wheat malt along with a floral aroma from a special yeast strain.

Bottles of Chiang Mai Weizen
Chiang Mai Weizen

Since Thailand is located in the tropical zone, barley and wheat which belong to a cooler climate are hard to grow naturally. However, there is a rice research center in Samoeng District, Chiang Mai Province (http://smg-rrc.ricethailand.go.th/), that puts a lot of effort not only into the development and the cultivation of wheat and barley in Northern Thailand but also the education on the related subjects.

We firmly believed that it would be an important small step for the Thai craft beer industry if we could use their pristine produce to make beer. With that in mind, after so many attempts, we successfully added raw “Fang-60” wheat into the brewing process of our hefeweizen. We were so proud of it that our first version of the label featured the very wheat field from Samoeng Rice Research Center. We named it “Chiang Mai Weizen”.

A beautiful scenic view from Samoeng Rice Research Center.
The original label of Chiang Mai Weizen
Isn’t she lovely?

Chiang Mai Weizen was well-received and quickly gained popularity due to its easy-drinking nature. The beer also won the title “Country Winner” in World Beer Awards 2017.

Chiang Mai Weizen_Country_Winner_Certs_WBA17
Chiang Mai Weizen: Thailand Winner in Wheat Beer / Bavarian Hefeweiss Category: WBA2017

A special attribute of Chiang Mai Weizen was its floral notes from an authentic German hefeweizen yeast. Since our clients commended us a lot for that aspect, we went on to highlight it by renaming it “Blossom Weizen”.

The yellow orchid on the label is “Uang Kham” (Dendrobium chrysotoxum – also known as the fried egg orchid) which is native to the north of Thailand, especially the greater Chiang Mai area. The background features the peak of the famous majestic carbonate mountain called “Doi Luang Chiang Dao”. It is a UNESCO’s biosphere reserve and the third most visited ecotourism site in Thailand. Besides the abundance of distinctive flora and fauna, this region is also diverse in ethnic groups, as well as the ancient Lanna culture.

The current label of Blossom Weizen represents its floral characteristics.
Uang Kham, a native orchid to Chiang Mai.
Doi Luang Chiang Dao is considered a UNESCO’s biosphere reserve for its unique flora and fauna.
Are you 20 or older? This website requires you to be 20 years of age or older. Please verify your age to view the content, or click "Exit" to leave.